การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน - การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน นิยาย การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน : Dek-D.com - Writer

    การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน

    ข้อมูลและหลักเกณฑ์การพิจารณายกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

    ผู้เข้าชมรวม

    107

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    107

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 มิ.ย. 57 / 20:20 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ของใช้ในบ้านเรือน หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของใช้ส่วนตัวซึ่งผู้เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร นำติดตัวเข้ามาในหรือออกไปพร้อมกับตนและเป็นของที่ผู้นำเข้าใช้สอยตามปกติระหว่างอยู่ต่าง โดยผู้นำเข้าของใช้ในบ้านเรือนต้องมีกรรมสิทธิ์ในของนั้น ๆ อยู่ก่อนการย้ายภูมิลำเนา เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องประดับ ฯลฯ ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วดังกล่าว เจ้าของต้องนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องจากในการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะจะได้รับสิทธิยกเว้นอากร
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
            ของใช้ในบ้านเรือนที่จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าได้ ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบุคคลที่ได้ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาตั้งในประเทศไทย ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือชาวต่างประเทศ และจำนวนของใช้ในบ้านเรือนที่จะยกเว้นอากรให้ได้ จะพิจารณาเท่าที่เป็นจำนวนพอสมควรที่พึงมีพึงใช้ตามปกติวิสัย และผ่านการใช้งานแล้ว โดยต้องเป็นของที่นำเข้ามาจากประเทศซึ่งผู้นำเข้ามีภูมิลำเนาอยู่ก่อนที่จะย้ายเข้ามามีภูมิลำเนาในประเทศไทย สำหรับของใช้ในบ้านเรือนที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิทยุถ้ามีการนำเข้ามาก็จะยกเว้นให้เพียง 1 เครื่อง ถ้ามีมากกว่า 1 เครื่อง จะยกเว้นอากรให้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ยกเว้นการย้ายภูมิลำเนาทั้งครอบครัว ให้ได้รับยกเว้นอากรได้อย่างละ 2 เครื่อง และเครื่องที่ยกเว้นค่าอากรให้นั้นต้องเป็นเครื่องที่มีค่าอากรต่ำสุด นอกจากวิทยุแล้วอาจมีตู้เย็น เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ ให้ถือเกณฑ์เดียวกับวิทยุ ของใช้ในบ้านเรือนดังกล่าว จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกิน 1 เดือน ก่อนผู้นำของเข้ามาถึง หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึง อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้ เทื่อเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ การย้ายภูมิลำเนานั้น ให้ถือเกณฑ์การพิจารณา ดังต่อไปนี้

       

      1.1 ชาวต่างประเทศ

           (1) ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ได้รับโควต้าเข้าเมืองตามที่ ปรากฏในหนังสือเดินทาง หรือใบประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
           (2) ชาวต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เข้ามาประกอบอาชีพในราชอาณาจักร จะได้รับการอนุโลมให้ถือว่าย้ายภูมิลำเนาต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าบุคคลผู้นี้จะให้อยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุญาตแต่เป็นเรื่องรีบด่วนต้องยื่นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งประกอบการพิจารณา คือ
                  หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับรองว่าจะได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวเป็นปีๆ ไป
                 หนังสืออนุญาตของกรมแรงงานว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
           (3) ชาวต่างประเทศที่เข้ามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือภายใต้สัญญาจ้างของหน่วยราชการ ต้องมีหนังสือหน่วยราชการนั้นๆ รับรองว่าบุคคลผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศในประเภท NON IMMIGRANT แล้ว และจะอยู่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี

           กรณีชาวต่างประเทศตาม (2) และ (3) มีสามีหรือภรรยาของตนติดตามมาด้วย และได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ครั้งแรก 90 วัน ก็ให้ถือว่าผู้ติดตามนั้นย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

      หมายเหตุ ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท Non-Immigrant O ที่เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลาย หรือ ติดตามภรรยาชาวไทยเข้ามาไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม (1)

      1.2 ชาวไทย

           (1) ชาวไทยหรือข้าราชการไทยที่ไปทำงาน หรือดำรงตำแหน่งหรือดูงานในต่างประเทศต้องอยู่ประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีที่ต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด 1 ปี ต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าได้เดินทางกลับเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาการจ้าง หรือได้รับคำสั่งให้ย้ายกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือเสร็จสิ้นการดูงานก่อนกำหนด
           (2) ชาวไทยที่ไปอยู่ประจำในต่างประเทศในกรณีอื่นเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องให้คำ รับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะกลับเข้ามามีภูมิลำเนาในประเทศไทย
           (3) นักเรียนไทย หรือข้าราชการไทยที่ไปศึกษาวิชา หรือดูงานในต่างประเทศ และคนไทยที่ออกไปอยู่ต่างประเทศ ให้ได้รับยกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือนได้ ในกรณีที่มีกรรมสิทธิ์ในของนั้นและได้ใช้สอยอยู่ในต่างประเทศตามปกติก่อนจะเข้ามาในประเทศไทย และของนั้นจะต้องมีจำนวนเท่าที่พอสมควรตามฐานะของบุคคลนั้นๆ และต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้ไปอยู่ในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ปี

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×